Facebook ไม่ใช่คำตอบของทุกอย่าง! การตลาดออนไลน์ที่ต้องใช้มากกว่าหนึ่งแพลตฟอร์ม

เป็นที่รู้กันดีว่าแพลตฟอร์ม Social Media ที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดในประเทศไทย ซึ่งกลายเป็นช่องทางการสื่อสารหลักของแบรนด์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอาหารเครื่องดื่ม พ่อค้าแม่ค้าที่เคยค้าขายแค่ในรูปแบบออฟไลน์ ไปจนถึงแบรนด์แฟชั่นที่ดูแลกลุ่มลูกค้าตั้งแต่ขั้นตอนการสร้างการรับรู้ การให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงการปิดการขายและการรักษาความสัมพันธ์กับกลุ่มลูกค้า
แม้ว่าแพลตฟอร์มดังกล่าวจะสามารถเข้าถึงคนทุกเพศทุกวัยหลากหลายไลฟ์สไตล์ได้ แต่ไม่ได้หมายความว่า Facebook จะเป็นช่องทางที่ดีที่สุดสำหรับทุกวัตถุประสงค์การตลาด และสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยสาเหตุจากความหลากหลายของแพลตฟอร์มออนไลน์ในปัจจุบันที่สร้างการรับรู้ให้กับผู้บริโภคในมุมที่แตกต่างกัน
แล้วนอกจาก Facebook แล้ว เราใช้ช่องทางไหนเป็น ‘บ้าน’ ของแบรนด์ในการสื่อสารกับลูกค้าได้บ้าง
วันนี้เราเลยจะพาทุกคนมารู้จักกับแพลตฟอร์มต่าง ๆ ที่สามารถใช้ในการสื่อสารการตลาดและสร้างยอดขายให้กับแต่ละธุรกิจ เพื่อให้ทุกคนสามารถเลือกใช้ไ้ด้อย่างเหมาะสมและพัฒนาการทำการตลาดออนไลน์ได้

จากตัวเลขจำนวนผู้ใช้งานอัพเดทเมื่อเดือนมีนาคมปี 2020 พบว่า จำนวนผู้ใช้งาน Facebook ยังคงครองอันดับหนึ่ง แต่ตัวเลขที่น่าสนใจรองลงมาอย่าง Line และ Youtube ก็แสดงให้เห็นได้ชัดเจนเลยว่าทั้ง 2 แพลตฟอร์มมีบทบาทอย่างมากในชีวิตประจำวันของชาวไทย ซึ่งถ้ามีการปรับกลยุทธ์แบรนด์ให้เหมาะสมกับรูปแบบแพลตฟอร์ม ก็จะเป็นผลดีกับธุรกิจอย่างแน่นอน
นอกจากแพลตฟอร์มที่ควรให้ความสำคัญทั้ง 5 แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานจำนวนมากแล้ว อีกหนึ่งช่องทางที่ไม่ควรละเลยก็คือ TikTok ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงปีที่ผ่านมา ด้วยรูปแบบของแพลตฟอร์มที่สร้างการมีส่วนร่วมและการแชร์ข้อมูลที่รวดเร็วและแพร่หลาย จึงเป็นอีกเครื่องมือที่ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญ
ถึงอย่างนั้น แบรนด์ยังคงมีทางเลือกอยู่มากในการเลือกใช้และดูแลแพลตฟอร์มออนไลน์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สามารถเลือกใช้ได้สะดวกขึ้น เราจึงรวบรวมข้อมูลและเปรียบเทียบความต่างของทั้ง 5 ช่องทางหลักมาดังนี้

Social Media Platform ยอดฮิตในไทย เข้าใจความต่าง เลือกใช้ได้กับทุกธุรกิจ
Facebook ด้วยการวางตำแหน่งของแพลตฟอร์มนี้คือการเป็น Social Networking คือการเป็นสถานที่ที่ทุกคนสามารถเชื่อมต่อกันได้โดยมีแพลตฟอร์มนี้เป็นศูนย์กลาง ซึ่งจะเห็นเลยว่าภายในแอปพลิเคชันจะมีเครื่องมือที่สนับสนุนการติดต่อกัน การพูดคุย และสร้างสังคมที่มีความสนใจเดียวกัน ทำให้คนทุกเพศทุกวัยสนใจได้ง่าย เพราะในกลุ่มคนจำนวนมากขนาดนี้ ยังไงก็ต้องมีคนที่มีความสนใจเหมือนกันไม่มากก็น้อยแน่ ๆ จึงเป็นที่ดึงดูดใจธุรกิจหลายประเภท
Line ไม่ใช่แค่การเป็นแอปพลิเคชันสำหรับการติดต่อสื่อสารเท่านั้น แต่เป็นแพลตฟอร์มที่พยายามครอบคลุมทุกพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุย อ่านข่าว ซื้อของ ฟังเพลง ดูหนัง จนกลายเป็น Personal Assistant ที่คนไทยใช้เวลามากที่สุดในทุก ๆ วัน จึงเหมาะกับการบริหารความสัมพันธ์ลูกค้าและธุรกิจที่เน้นการพูดคุย ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร ธุรกิจบริการ หรืออสังหาริมทรัพย์ที่ลูกค้ามักต้องการคำแนะนำและอัพเดทข้อมูลข่าวสารใหม่ ๆ อยู่เสมอ
Youtube แหล่งรวมออนไลน์คอนเทนต์ในรูปแบบวิดีโอที่คนนึกถึงมากที่สุด แต่ไม่ใช่แค่การนำเสนอคอนเทนต์เท่านั้น แต่ Youtube ต้องการเป็น Online TV ของคนรุ่นใหม่ที่มีคอนเทนต์หลากหลายรูปแบบให้ทุกคนได้กำหนดเนื้อหาที่ต้องการเสพในรูปแบบของตัวเอง ซึ่งรูปแบบการนำเสนอที่เป็นที่นิยมมากที่สุดบนช่องทางนี้คือการอธิบายและแก้ปัญหาเรื่องยาก ๆ ด้วยวิดีโอแบบ How to ทำให้เหมาะสมกับธุรกิจที่ต้องใช้ความรู้ความเข้าใจจนที่อาศัยข้อมูลปริมาณมาก
Instagram นอกจากจะต้องเน้นการนำเสนอผ่านรูปภาพแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ผู้ใช้งานผ่าน Instagram ต้องให้ความสำคัญคือความสวยงามของรูปภาพที่สามารถสะท้อนภาพลักษณ์และบุคลิกของแบรนด์ไ้ด้ ซึ่งการกระตุ้นความต้องการผ่าน Emotion ทำให้เกิดพฤติกรรมการซื้อได้ง่าย จึงเป็นอีกช่องทางปิการขายที่ไม่ควรละเลย
Twitter แม้ว่าใครหลายคนจะคุ้นชินกับการเป็นแพลตฟอร์มที่เน้นการพูดคุย แต่จริง ๆ แล้วพฤติกรรมของคนทุกวันนี้เน้นการอ่านข่าวสารผ่าน Twitter ด้วยสาเหตุของความรวดเร็วในการอัพเดทข้อมูลที่ช่วยให้ทุกคนไม่ตกเทรนด์ทั้งเรื่องทั่วไป ข่าวการเมือง เหตุการณ์สำคัญ ไปจนถึงสถานการณ์ในวงการบันเทิง ทำให้เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่สื่อต่าง ๆ ต้องให้ความสนใจ
หลังจากที่ทุกคนได้เข้าใจความต่างและจุดแข็งของแต่ละแพลตฟอร์มแล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่ควรรู้นอกจากการเลือกใช้ช่องทางการสื่อสารที่เหมาะสม คือการเลือกใช้เครื่องมือภายในแพลตฟอร์มให้ตรงกับเป้าหมายทางการตลาดที่กำหนดไว้ ซึ่งแต่ละแพลตฟอร์มมีเครื่องมือที่ควรรู้ตามรายละเอียดต่อไปนี้

อยากทำการตลาดในแพลตฟอร์มนี้ ต้องเลือกใช้เครื่องมืออะไร
นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของเครื่องมือที่น่าสนใจในการทำการตลาดออนไลน์บนแพลตฟอร์มที่แตกต่างกันเท่านั้น เพราะยังมีเครื่องมืออีกมากมายที่ใช้ในการสร้างสื่อให้เหมาะกับรูปแบบการนำเสนอ และการใช้เครื่องมือการวัดผลหลังบ้านในการวางกลยุทธ์
ซึ่งเครื่องมือที่ได้รวบรวมมาเรียกได้ว่าเป็นไฮไลท์สำคัญของแต่ละแพลตฟอร์ม ไม่ว่าจะเป็นการ Live ในการสื่อสารบน Facebook ประกอบกับการใช้ Facebook Group ในการสร้างคอมมิวนิตี้ที่คนในกลุ่มให้ความสนใจในเรื่องเดียวกัน ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมและสร้างยอดขายได้ง่ายกว่าช่องทางอื่น ๆ
การใช้คูปองและการสะสมแต้มบน LINE ที่กระตุ้นให้เกิความต้องการและพฤติกรรมการซื้อซ้ำ รวมถึงการประชาสัมพันธ์ข้อมูลที่จำเป็น ทำให้ผู้บริโภคเกิดความผูกพันและไว้วางใจในแบรนด์สินค้า
การบริหาร Youtube Channel ที่นำเสนอคอนเทนต์ในสัดส่วนที่เหมาะสมกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ไม่ใช่แค่การสร้างวิดีโอที่นำเสนอเนื้อหาแบบเดิม ๆ แต่ครอบคลุมในเรื่องที่ผู้ติดตามสนใจ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างภาพลักษณ์ของแบรนด์ที่แข็งแรง
การเลือกใช้การสื่อสารที่หลากหลายเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมกับกลุ่มเป้าหมายในแต่ละช่วงของวัน ไม่ว่าจะเป็นการไลฟ์ การใช้สตอรี่ในการอัพเดทข้อมูลของทางแบรนด์ รวมไปถึงการจัดการโฆษณาที่คงความสวยงามของรูปภาพไว้ และสร้างภาพลักษณ์แบรนด์ที่มีเอกลักษณ์บน Instagram
และสุดท้ายคือการตลาดที่อาศับความถี่ในการอัพเดทข้อมูลข่าวสารที่ทันต่อเหตุการณ์ รวมถึงการมีส่วนร่วมบน Trending Hashtags ของ Twitter ที่ทำให้คนทั่วไปสามารถรู้จักแบรนด์นั้น ๆ ได้ผ่านตัวตนการประชาสัมพันธ์และทัศนคติของแบรนด์เหล่านั้น
ทั้งนี้ ไม่ใช่ว่าการทำการตลาดที่ดีหรือการทำการตลาดให้มีประสิทธิภาพสูงที่สุดจะต้องใช้ทุกแพลตฟอร์ม หรือเลือกใช้แค่แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานมากที่สุด แต่หัวใจสำคัญของการตลาดออนไลน์คือการเลือกใช้อย่างเหมาะสม นั่นคือเลือกในแพลตฟอร์มที่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายอยู่ และนำเสนอข้อมูลในลักษณะท่ีตรงกับธรรมชาติของแพลตฟอร์มเหล่านั้น ณ เป้าหมายการตลาดที่แตกต่างกัน เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกับอัลกอริทึมพื้นฐานที่ Social Media ต้องการนำเสนอ
แน่นอนว่าหลังจากที่ตัดสินใจเลือก ‘บ้าน’ หรือ ‘แพลตฟอร์มที่แบรนด์ต้องการทำการตลาด’ แล้ว ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะเรียนรู้และเข้าใจแพลตฟอร์มเหล่านั้นอย่างลึกซึ้ง เพราะต้องอาศัยทั้งเวลา ประสบการณ์ และความชำนาญในการเรียนรู้ช่องทางนั้น ๆ ซึ่งทางโครงการ The Digital Work เห็นความสำคัญของการเรียนรู้แพลตฟอร์มเหล่านี้ และต้องการให้ทุกคนเข้าใจการตลาดออนไลน์ในระยะเวลาสั้น ๆ สำหรับใครที่สนใจและต้องการเป็นส่วนหนึ่งของสายงานการตลาดดิจิทัล สามารถเข้ามาทดสอบวัดระดับและเป็นหนึ่งในผู้เข้าร่วมโครงการกับเราได้เพียงติดตามข่าวสารจากเพจนี้ >>> https://www.facebook.com/thedigitalworkbytec
ขอบคุณข้อมูลจาก